คณะการจัดการธุรกิจอาหาร เป็นคณะวิชาลำดับที่ 9 ของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปัจจุบันคณะฯ เปิดทำการเรียนการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจภัตตาคาร และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร (ต่อเนื่อง) นโยบายหลักของคณะฯ คือ สร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา และ/หรือ เกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนระเบียบข้อบังคับหรือประกาศที่เกี่ยวข้องของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และกำหนดสีเขียว (Green) เป็นสีประจำคณะ และกำหนดให้ “กธอ. และ FBM” เป็นอักษรย่อของคณะฯ คณะการจัดการธุรกิจอาหาร มีความมุ่งมั่นในการจัดการเรียนการสอนด้านการจัดการธุรกิจอาหารแบบเรียนรู้ควบคู่การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการจริง (Work-based Education: WBE)
ปรัชญา
“ผลิตบัณฑิตที่ทำงานเป็น โดดเด่นด้านนวัตกรรม มีคุณธรรมสูง มุ่งสู่สากล”
ปณิธาน
คณะการจัดการธุรกิจอาหาร ได้นำอักษรย่อของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) มาขยายความเพื่อใช้เป็นแนวทางผลิตบัณฑิต คือ
P: Practicality (ความรู้สู่การปฏิบัติ)
หมายถึง ความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ดี นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริงได้ ทั้งในการประกอบวิชาชีพ การดำรงชีวิต รวมทั้งการพัฒนาและขยายองค์ความรู้ และการวางแผนเพื่ออนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
I: Innovation (นวัตกรรมและการสร้างสรรค์)
หมายถึง ความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีภูมิปัญญา และมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ ให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมตามยุคสมัย และ
สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคต เป็นผู้มีศักยภาพในการผลักดันความคิดและแรงบันดาลใจ
อันเป็นนามธรรมให้ก่อเกิดเป็นรูปธรรมอย่างกลมกลืนทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อพัฒนาวิถีชีวิตและสังคม
M: Morality (คุณธรรมจริยธรรม)
หมายถึง ความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความบริบูรณ์พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจในศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของชาติตนและของประชาคมนานาชาติ มีความมั่นคงทางอารมณ์ ปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์ต่างๆ ได้
วิสัยทัศน์
“สร้างนักจัดการธุรกิจอาหารและภัตตาคารมืออาชีพ ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง”
พันธกิจ
1. จัดและพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านการจัดการธุรกิจอาหารที่ทันสมัย และเท่าทันกระแสพลวัตต่างๆ ของโลก
2. ผลิตบัณฑิตคณะการจัดการธุรกิจอาหารตามปณิธานของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมุ่งเน้นใน 3 ด้านหลัก ดังต่อไปนี้
– ความรู้สู่การปฏิบัติการ (Practicality)
– นวัตกรรมและประยุกต์ใช้ (Innovation)
– คุณธรรมจริยธรรม (Morality)
3. ส่งเสริมให้มีการวิจัยค้นคว้าทางด้านการจัดการธุรกิจอาหาร เพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนานวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และภาคธุรกิจ
4. บริการวิชาการ โดยประสานความคิดและความร่วมมือกับเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพต่าง ๆ
5. เสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีคุณธรรม จริยธรรม อุดมการณ์ ในวิชาชีพ มีความรับผิด ชอบต่อสังคม และมีจิตสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอาหารของชาตb
6. เสริมสร้างระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ